ผลการประเมินในปี พ.ศ. 2566 พบว่า ธนาคารทุกแห่งได้คะแนนในหมวดนี้ เนื่องจากทุกธนาคารประกาศนโยบายไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินและสินเชื่อแก่ธุรกิจที่ผลิตหรือค้า “อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง” โดยอาวุธกลุ่มดังกล่าว หมายถึง อาวุธนิวเคลียร์ อาวุธชีวภาพ อาวุธเคมี หรืออาวุธอื่นใดซึ่งมีอานุภาพที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตมนุษย์ สัตว์ พืช จํานวนมากหรือต่อสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรงทํานองเดียวกับอาวุธดังกล่าว รวมทั้งระบบการส่งอาวุธ ส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ของอาวุธนั้นด้วย (ข้อ 3-6) ซึ่งการประกาศนโยบายดังกล่าวเป็นไปตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูง พ.ศ. 2559
ธนาคารกสิกรไทยเป็นธนาคารเพียงแห่งเดียวที่ได้รับคะแนนเพิ่มขึ้นในหมวดอาวุธ เนื่องจากมีการขยายขอบข่ายนโยบายครอบคลุมถึงบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด ซึ่งมีแนวทางการยกเว้นการลงทุน (Exclusionary Policy) ในบริษัทที่เกี่ยวข้อง ผลิต จัดจําหน่าย หรือจําหน่ายสินค้าในอาวุธประเภท Controversial weapons เช่น อาวุธเคมี อาวุธชีวภาพ อาวุธนิวเคลียร์ รวมถึงทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (Anti-personnel landmines) ระเบิดลูกปราย และ อาวุธยุทโธปกรณ์ (Cluster bombs or munitions) (ข้อ 1 และข้อ 2) ส่งผลให้ธนาคารได้รับคะแนนในเกณฑ์นี้เพิ่มขึ้นจากปีก่อน
ธนาคารกรุงไทยเป็นธนาคารเพียงแห่งเดียวที่ได้รับคะแนนครบทุกข้อในหมวดนี้ โดยเป็นธนาคารเดียวที่ระบุว่า ธนาคารไม่สนับสนุนทางการเงินหรือลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวกับการผลิตหรือค้าอาวุธสงคราม เช่น สินค้าที่สำคัญสำหรับเป้าหมายทางการทหาร แต่ยังสามารถใช้เป็นผลิตภัณฑ์พลเรือน (สินค้า ‘dual-use’) ซึ่งธนาคารจัดประเภทสินค้าชนิดนี้เป็นสินค้าทางทหาร เมื่อมีเป้าหมายที่ไม่ใช่เป้าหมายทางพลเรือน (ข้อ 8)