เกี่ยวกับเรา

แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย
แนวปฏิบัติการเงินที่เป็นธรรม
เป้าหมาย
ความเป็นมา
แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย (Fair Finance Thailand)

แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2561 สมาชิกประกอบด้วยบริษัทวิจัย 1 บริษัท และองค์กรภาคประชาสังคม 4 องค์กร ที่มีความสนใจร่วมกันในการติดตามผลกระทบและความท้าทายของธุรกิจธนาคาร และประสงค์จะร่วมกันผลักดันภาคธนาคารไทยให้ก้าวสู่แนวคิดและวิถีปฏิบัติของ “การธนาคารที่ยั่งยืน” (sustainable banking) อย่างแท้จริง ผ่านการนำมาตรฐาน Fair Finance Guide International (แนวปฏิบัติของแนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ เว็บไซต์ www.fairfinanceguide.org) มาใช้ในการประเมินนโยบายด้านต่าง ๆ ของธนาคารพาณิชย์ไทยที่เปิดเผยสู่สาธารณะ เริ่มจากปี พ.ศ. 2562 เป็นปีแรก 

สมาชิกแนวร่วม Fair Finance Thailand ได้แก่

  1. บริษัท ป่าสาละ จำกัด
  2. International Rivers
  3. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
  4. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw)
  5. มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH)


แนวปฏิบัติการเงินที่เป็นธรรม

แนวปฏิบัติการเงินที่เป็นธรรม

แนวปฏิบัติการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ (Fair Finance Guide International)

คือ ดัชนี และ เครื่องมือ สำหรับผู้บริโภค ในการเจรจาต่อรอง การรณรงค์ การให้การสนับสนุน การมีส่วนร่วมในภาครัฐและสถาบันการเงิน เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการเงินที่เป็นธรรม

ในปี พ.ศ. 2559 องค์กรภาคประชาสังคม 39 หน่วยงาน ได้ดำเนินงานตามแนวปฏิบัติการเงินที่เป็นธรรมใน 9 ประเทศ สามารถเข้าถึงบุคคลทั่วไปกว่า 4 ล้านคน ผ่านทางช่องทางทวิตเตอร์และเฟสบุ๊ค ในขณะที่เว็บไซต์แนวปฏิบัติการเงินที่เป็นธรรม มีสถิติผู้เข้าเยี่ยมชมมากกว่า 400,000 คน  ในปี พ.ศ. 2560 เพียงปีเดียว มีประชาชนส่งข้อคิดเห็นหรือข้อร้องเรียนต่อธนาคารที่ตนใช้บริการมากกว่า 60,000 คน

ในปี พ.ศ. 2559 นโยบายการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงิน 95 แห่งใน 9 ประเทศถูกประเมินด้วยหลักเกณฑ์การประเมินกว่า 422 ข้อ (ซึ่งผ่านความเห็นชอบระหว่างประเทศ) และเครือข่ายแนวปฏิบัติการเงินที่เป็นธรรมได้จัดทำกรณีศึกษา 45 ชิ้น ซึ่งเปรียบเทียบนโยบายกับการปฏิบัติจริงของธนาคาร รวมถึงได้ออกรายงานเปรียบเทียบการลงทุนในกลุ่มน้ำมันเชื้อเพลิงและแหล่งพลังงานทดแทนของธนาคาร 75 แห่งทั่วโลก ในรายงานชื่อ “Undermining our Future” โดยใช้ข้อมูลปี พ.ศ. 2558

สมาชิกในแนวร่วมแนวปฏิบัติการเงินที่เป็นธรรมได้จัดประชุมร่วมกับธนาคารต่าง ๆ มากกว่า 100 ครั้งนอกเหนือจากการติดต่อผ่านทางอีเมล์หรือโทรศัพท์ ซึ่งการประชุม 25 ครั้งจัดขึ้นในหลายประเทศโดยมีวุฒิสมาชิกหรือสมาชิสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองเข้าร่วมประชุม กิจกรรมทั้งหมดนี้นำไปสู่การตกลงที่จะเปลี่ยนแปลงนโยบายของธนาคาร 25 แห่งทั่วโลก

ข้อมูลเพิ่มเติม: www.fairfinanceguide.org

เป้าหมาย

เป้าหมาย

การนำมุมมองด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และหลักธรรมาภิบาล (Environmental, Social, Governance นิยมย่อว่า ประเด็น ESG) มาบูรณาการกับนโยบายและการดำเนินงานของธนาคารรวมถึงธุรกิจที่ได้รับการลงทุนจากธนาคาร นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทั่วโลก ยกตัวอย่างเช่น การลดการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การละเมิดสิทธิมนุษยชน ข้อตกลงเรื่องการค้าอาวุธ และการยึดครองที่ดิน รวมถึงการสนับสนุนการพัฒนาการบริการทางการเงินสำหรับผู้ผลิตรายย่อย และการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าที่เป็นธรรมมากขึ้น

แนวปฏิบัติการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติสนับสนุนการบูรณาการและประยุกต์ใช้กรอบการดำเนินงานที่คำนึงถึงสังคม สิ่งแวดล้อม หลักธรรมาภิบาล และสิทธิมนุษยชน ในการดำเนินธุรกิจของธนาคาร รวมถึงลูกค้าของธนาคารซึ่งดำเนินงานในประเทศกำลังพัฒนา

แนวปฏิบัติการเงินที่เป็นธรรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการแข่งขันสู่การเป็นที่หนึ่งระหว่างธนาคารภายใต้กรอบการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาล และสิทธิมนุษยชน โดยใช้เครื่องมือดังต่อไปนี้

  • เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้เลือกบริการทางการเงินด้วยข้อมูลที่ถูกต้องเที่ยงตรง
  • เปิดช่องทางโดยตรงให้ลูกค้าของธนาคารสามารถเสนอข้อคิดเห็น ข้อร้องเรียน หรือเปลี่ยนธนาคารที่ใช้บริการ
  • เสนอบรรทัดฐาน (benchmarks) ที่สถาบันการเงินและหน่วยงานกำกับดูแลสามารถนำไปใช้พัฒนาการดำเนินงานให้มีความรับผิดชอบ เป็นธรรม และยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
  • รณรงค์เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงให้ระบบการเงินโลกมีความเป็นธรรมและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (inclusive)

ข้อมูลเพิ่มเติม: www.fairfinanceguide.org

ความเป็นมา

ความเป็นมา

แนวปฏิบัติการเงินที่เป็นธรรมริเริ่มในปี พ.ศ. 2552 โดยองค์กรภาคประชาสังคมหลายองค์กรในประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยพัฒนาระเบียบวิธีวิจัยร่วมกับสถาบันวิจัย PROFUNDO และแนวปฏิบัตินี้ได้ถูกนำมาใช้ในระดับนานาชาติ ในปี พ.ศ. 2557 ปัจจุบันเครือข่ายแนวปฏิบัติการเงินที่เป็นธรรมดำเนินงานใน 9 ประเทศด้วยกัน ได้แก่ เบลเยี่ยม บราซิล ฝรั่งเศส เยอรมนี อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน ในแต่ละประเทศจะมีแนวร่วมขององค์กรภาคประชาสังคมในท้องถิ่น ร่วมด้วยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ดำเนินกิจกรรมหลักได้แก่ การวิจัย การติดตามตรวจสอบ การรณรงค์ต่อสาธารณะ และการหารือกับภาคการเงิน ภายใต้กรอบการดำเนินงานของแนวปฏิบัติการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ

การประเมินคุณภาพของนโยบายและการปฏิบัติของธนาคารภายใต้กรอบแนวคิดด้านความยั่งยืนในหัวข้อเฉพาะด้านและเผยแพร่คะแนนการประเมินช่วยเพิ่มแรงกดดันจากสาธารณะ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนานโยบายและการปฏิบัติที่เกี่ยวกับการลงทุนของธนาคาร โดยองค์กรที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกแนวร่วมแนวปฏิบัติการเงินที่เป็นธรรมในแต่ละประเทศ สามารถใช้ผลลัพธ์ที่ได้จากการประเมินในการหารือและส่งอิทธิพลต่อหน่วยงานกำกับดูแลภาคธนาคาร ในการเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบการเงินที่เป็นธรรม เช่น ผ่านการทำงานของรัฐสภาหรือสื่อมวลชน 

ข้อมูลเพิ่มเติม: www.fairfinanceguide.org

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็น

ส่งข้อความของคุณเรียบร้อย

×