Fair Finance Thailand มีการใช้งานคุกกี้ ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุกกี้ × ปิดการแจ้งเตือน
28 มีนาคม 2562
เราเกือบทุกคนเคยใช้บริการธนาคาร แต่ก็หลายคนเช่นกัน ที่รู้สึกว่าธนาคารเป็นสถาบันที่น่าเชื่อถือ แตะต้องไม่ได้ เขาให้เราทำอะไร เราก็คิดว่าคงต้องเป็นอย่างนั้น
แม้ความจริงแล้ว พวกเขาก็เป็นบริษัทที่ขายสินค้าให้เรา เหมือนบริษัทขายน้ำอัดลม ขายอาหาร ขายอะไรต่างๆ ทั่วไป
แต่ทำไมเราดูจะไม่เคยเรียกร้องสินค้าที่ดีขึ้นจากธนาคารได้ เหมือนกับที่เราเรียกร้องจากสินค้าอื่นๆ
นี่จึงเป็นที่มาของโครงการ Fair Finance Thailand ที่ใช้เครื่องมือ “ดัชนีชี้วัด” เพื่อมาให้คะแนนกับธนาคารของไทย ว่าเมื่อเทียบกับมาตรฐานโลกแล้ว ธนาคารไทย จริงใจกี่คะแนน
เข้าไปอ่านผลคะแนนแบบเต็มๆ ได้เลยที่ www.fairfinancethailand.org
พวกเราฝากเงินไว้กับธนาคาร แล้วธนาคารนั้น ก็เอาเงินไปทำกำไรด้วยการปล่อยกู้ให้กับธุรกิจต่างๆ
แต่เราเคยรู้บ้างไหมว่า เขาเอาเงินเราไปปล่อยกู้ให้กับอะไรบ้าง ให้บริษัทที่ขายอาวุธไหม? ใช้แรงงานเด็กหรือเปล่า? ให้กับธุรกิจที่ทำลายสิ่งแวดล้อมหรือไม่?
นี่คือคำถามที่ คนฝากเงินอย่างเราควรได้รู้
และธนาคารที่เราเอาเงินไปให้นั้น เขาบริหารโดยมีนโยบายด้านต่างๆ เหล่านี้หรือไม่
1.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
2. การทุจริตคอร์รัปชัน
3. ความเท่าเทียมทางเพศ
4. สิทธิมนุษยชน
5. สิทธิแรงงาน
6. ธรรมชาติ
7. ภาษี
8. อาวุธ
9. การคุ้มครองผู้บริโภค
10. การขยายบริการทางการเงิน
11. การตอบแทน
12. ความโปร่งใสและความรับผิด
Fair Finance คือ Movement ระดับโลก ที่ใช้ “ดัชนี” และ “เครื่องมือ” สําหรับผู้บริโภคและภาคประชาสังคม มาประเมินธนาคาร ว่าทำได้ดีแค่ไหน และต่อรองว่าธนาคารควรเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง
ซึ่งตอนนี้ดำเนินงานอยู่ใน 9 ประเทศทั่วโลก (ประเทศไทยเป็นประเทศที่ 10!)
Fair Finance Thailand ประเมินธนาคารจาเอกสารและนโยบายที่สถาบันการเงินเปิดเผยต่อสาธารณะ ณ 31 มกราคม 2562 ประกอบด้วย:
- รายงานประจําปี
- รายงานความยั่งยืน (Sustainability report) หรือ รายงานความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR Report)
- แบบฟอร์ม 56-1(รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)
- ข้อมูลหรือเอกสารบนเว็บไซต์
- แถลงการณ์สาธารณะ
- จดหมายข่าว
โดยเปรียบเทียบกับมาตรฐานสากลด้านความยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ การให้คะแนนตามแนวทางของ Fair Finance ที่จะนับจากนโยบายที่ประกาศสาธารณะนั้น ก็อาจจะมีหลายกรณี ที่ธนาคารมีนโยบาย แต่พอปฎิบัติจริง แล้วมีข้อน่าสงสัย ซึ่งในเว็บไซต์เราได้ติดเครื่องหมายตกใจไว้ในแต่ละหมวดของแต่ละธนาคารแล้ว
หมวดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
หมวดสิทธิมนุษยชน
หมวดทุจริตคอร์รัปชัน
หมวดคุ้มครองผู้บริโภค
นี่คือคะแนนรวมเมื่อรวมทุกด้าน
จะเห็นว่า แม้ธนาคารกสิกรไทย ที่นำมาอันดับ 1 แต่คะแนนก็ไม่ได้ห่างจากธนาคารอื่นๆ มากนัก
รวมทั้งจะเห็นได้ว่า คะแนนสูงสุดนั้นเพียง 17.46% เมื่อเทียบกับคะแนนเต็มแล้วนั้น จะเห็นว่ายังมีพื้นที่ให้ธนาคารไทยพัฒนาได้อีกมาก
เมื่อนำคะแนนเฉลี่ยของธนาคารในไทย ที่ 12.62% ไปเทียบกับคะแนนเฉลี่ยของประเทศอื่นที่ใช้เกณฑ์ Fair Finance Guide ก็จะพบว่ายังมีช่องทางให้ธนาคารไทยพัฒนาได้อีกมาก
ไม่มีธนาคารไหนเลยที่กำหนดนโยบายสินเชื่อเกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่สุ่มเสี่ยงต่อการสร้างผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
แม้ธนาคารไทยจะทำได้ดี ในแง่การขยายบริการให้กับ SME เปิดโอกาสให้ธุรกิจขนาดกลางและเล็กเข้าถึงเงินกู้ สร้างธุรกิจของตัวเองได้
อย่างไรก็ตามความท้าทายต่อไปจะอยู่ที่เงินกู้ขนาดจิ๋ว (Micro Loan) ที่จะช่วยตั้งตัวให้กับแม่ค้าในตลาด, คนขายของตลาดนัด รายย่อยที่ยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้คุณภาพได้ และยังเสี่ยงต่อการเป็นหนี้เรื้อรังจากเงินกู้นอกระบบ
ทุกธนาคารได้คะแนนเท่ากันทุกธนาคารจากการปฏิบัติตามกฎหมายฟอกเงิน และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยแค่นั้น
ยังไม่มีธนาคารใดกำหนดเพดานการจ่ายเงินโบนัสผู้บริหาร หรือผูกโยงเกณฑ์การจ่ายโบนัสเข้ากับเกณฑ์อื่น ๆ นอกเหนือจากผลประกอบการทางธุรกิจ อาทิ 1) ความพึงพอใจของพนักงาน 2) ความพึงพอใจของลูกค้า และ 3) การปรับปรุงผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ยกเว้นธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ซึ่งระบุว่าคำนึงถึงหลักเกณฑ์ทั้งสามด้านดังกล่าวข้างต้นในการกำหนดค่าตอบแทนของผู้บริหารระดับสูง จึงเป็นธนาคารเพียงแห่งเดียวที่ได้คะแนนในหมวดค่าตอบแทน
ส่งข้อความของคุณเรียบร้อย