แนวทางการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ในต่างประเทศเป็นอย่างไร
การคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ในต่างประเทศส่วนใหญ่ คิดจาก “ฐานของค่างวดที่ต้องชำระ” แทบทั้งสิ้น โดยไม่ได้คิดจาก “ฐานของเงินต้นที่ค้างชำระ” ยกตัวอย่างการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้สำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย เช่น
สิงคโปร์ กำหนดให้คิดจากส่วนที่ค้างชำระ และห้ามคิดจากยอดหนี้คงเหลือที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
ฮ่องกง คิดดอกเบี้ยผิดนัดบนค่างวดที่ต้องชำระ
มาเลเซีย มีกำหนดไม่เกิน 1% ต่อปี บนค่างวดที่ค้างชำระ
สหรัฐอเมริกา คิดไม่เกิน 4% ของยอดที่ค้างชำระ
หรือในประเทศอังกฤษ กำหนดห้ามคิดจากยอดหนี้คงเหลือ
.
การที่หลายประเทศกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ที่สามารถเรียกเก็บเพิ่มเติมได้จากอัตราดอกเบี้ยปกติตามสัญญา เป็นการทำเพื่อกำกับดูแลให้ลูกหนี้มีวินัยในการชำระหนี้ให้ตรงเวลา ประกอบกับจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ด้วยเช่นกันว่าดอกเบี้ยปรับที่ต้องจ่ายจะไม่เป็นภาระต่อลูกหนี้จนเกินพอดี ซึ่งนอกจากจะเป็นผลดีกับลูกหนี้เองแล้ว ยังช่วยลดโอกาสเกิดปัญหาหนี้เสียที่มีสาเหตุจากภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยปรับที่สูงขึ้นเกินกำลังของลูกหนี้
.
นอกจากนี้ ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ควรสะท้อนต้นทุนความเสี่ยงของลูกหนี้ (Credit risk) และต้นทุนค่าเสียโอกาสของเจ้าหนี้จากการที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ ประกอบกับการคำนึงถึงความสามารถที่จะจ่ายดอกเบี้ยปรับของลูกหนี้ด้วยเช่นกัน เพราะหากเจ้าหนี้เรียกเก็บยอดที่สูงเกินไปจนลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ (Affordability risk) อาจส่งผลให้เกิดเป็นหนี้เสีย เจ้าหนี้ก็ต้องฟ้องศาล หรือยึดทรัพย์ของลูกหนี้มาขายทอดตลาด ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการและผลที่ได้อาจไม่คุ้มเสีย ดังนั้นดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ต้องสะท้อนความเสียหายจริงที่เกิดขึ้นกับเจ้าหนี้ และไม่ควรปรับสูงเกินไปจนอาจเป็นต้นตอที่ทำให้ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ได้
#FairFinanceThailand #คิดดอกเบี้ยแบบแฟร์ๆ #ดอกเบี้ย #ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้