ธนาคารไทย จริงใจกี่คะแนน...เมื่อเทียบกับทั่วโลก
จริงๆแล้วธนาคารถือเป็นบริษัทที่ขายผลิตภัณฑ์หรือสินค้าให้กับเรา เมื่อเราได้รับการบริการที่ไม่เป็นธรรมตามข้อตกลง เราสามารถที่จะร้องเรียนได้เช่นเดียวกับสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป
ไม่เพียงแต่การให้บริการเท่านั้น หากการให้สินเชื่อของธนาคารกับผู้ประกอบการ เกิดผลกระทบที่เสียหายต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมมาภิบาลเราก็ควรเรียกร้องให้ธนาคารมีนโยบายที่คำนึงถึงการป้องกันผลกระทบที่ตามมา
นี่จึงเป็นที่มาของโครงการ Fair Finance Thailand ที่ใช้เครื่องมือ “ดัชนีชี้วัด” เพื่อมาให้คะแนนกับธนาคารของไทย ครั้งนี้จะแสดงให้เห็นว่า แล้วตัวอย่างของธนาคารของต่างประเทศ มีดีกว่าเรายังไง และทำไมค่าเฉลี่ยของคะแนนธนาคารไทยจึงได้น้อย เมื่อเทียบกับธนาคารต่างประเทศ
โครงการ Fair Finance Thailand ที่ใช้เครื่องมือ “ดัชนีชี้วัด” เพื่อมาให้คะแนนกับธนาคารของไทย ว่าเมื่อเทียบกับมาตรฐานโลกแล้ว ธนาคารไทย จริงใจกี่คะแนน
จะเห็นได้ว่า คะแนนจากผลการประเมิน Fair Finance Guide ของต่างประเทศมีคะแนนสูงกว่าเรามาก เนื่องจากธนาคารในประเทศไทยยังขาดการกำหนดนโยบายอีกหลายด้านด้วยกัน
ตามไปดู ธนาคารไทยจริงใจ กี่คะแนน ?
https://fairfinancethailand.org/bank-guide/news/2019/how-thai-banks-are-scored/
จริงๆแล้ว Fair Finance Guide มีเครือข่ายในการใช้ดัชนีชี้วัดประเมินธนาคาร อีกหลายประเทศด้วยกัน
ได้แก่ประเทศ Belgium, Brazil, France, Germany, Indonesia, Japan, Netherlands, Norway and Sweden.
และในอนาคตจะมีอีกหลายประเทศที่ใช้ดัชนี้ชี้วัด Fair Finance Guide เพื่อสร้างแรงผลักดันทางภาคสังคม ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับธนาคาร ให้มีความรับผิดชอบมากขึ้นในการปล่อยสินเชื่อ
ธนาคาร Rabobank มีนโยบายหลัก 4 ด้านที่ใช้กับ 'ทุกผลิตภัณฑ์ทางการเงิน'
1. ต้องมีการประเมินความเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อม
2. ธุรกิจต้องไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน
3. เคารพสิทธิแรงงาน
4. ไม่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันทุกชนิด
ธนาคารยังมีนโยบายเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social, Governance: ESG)
เฉพาะสำหรับกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ
- ความหลากหลายทางชีวภาพ
- เทคโนโลยีทางพันธุกรรม
- สิทธิสัตว์
- การใช้ดิน
- อนุพันธ์สินค้าโภคภัณฑ์
- การลงทุนด้านเกษตรกรรม
และนโยบายเฉพาะสำหรับ 12 อุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยง ESG
1) อุตสาหกรรมการผลิตอาวุธ
2) ป่าไม้
3) พลังงานชีวภาพ
4) ฟาร์มปศุสัตว์
5) กาแฟโกโก้ และฝ้าย
6) อุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ
7) อุตสาหกรรมประมง
8) ปาล์มน้ำมัน
9) ถั่วเหลือง
10) น้ำตาล
11) การทุบเรือทิ้งเป็นเศษเหล็ก
ตามเข้าไปดูข้อมูล ESG เพิ่มเติมได้ที่
http://www.salforest.com/blog/esg-for-global-bank
ส่งผลให้ Rabobank มีคะแนนประเมินเฉลี่ยอยู่ที่ 59 คะแนน และได้คะแนนสูงในหมวดการทุจริตคอร์รัปชัน สิทธิมนุษยชน สิทธิแรงงาน อาวุธ และธรรมชาติ
คะแนน Rabobank เทียบกับคะแนนเฉลี่ยธนาคารไทย
ธนาคาร ABN-AMRO มีกำหนดประเภทสินเชื่อต้องห้าม (Exclusion List) ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับนโยบายความยั่งยืนของธนาคาร โดยจะไม่สนับสนุนทางการเงินให้กับอุตสาหกรรมที่มี “กิจกรรม” ต่าง ๆ ดังนี้
1) อุตสาหกรรมการเกษตร
- ค้าสัตว์ป่าหรือผลิตภัณฑ์สัตว์ที่ละเมิดข้อตกลง CITES
- พื้นที่การเกษตรจากการเผาป่าหรือทำลายระบบนิเวศ
- โรงงานยาสูบ
- ละเมิดสิทธิมนุษยชนเช่น ใช้แรงงานเด็ก ค้ามนุษย์
- การค้าไม้ผิดกฎหมาย หรือ ตัดไม้ที่ไม่ได้รับการรับรอง
- ผลิต ค้า หรือ ขนส่งสินค้าอาวุธที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งเช่น ระเบิด อาวุธชีวภาพ อาวุธเคมี อาวุธนิวเคลียร์ เป็นต้น
2) อุตสาหกรรมทางการแพทย์
- ทดลองในสัตว์ใกล้สูญพันธ์หรือลิงใหญ่ (Great Apes)
3) อุตสาหกรรมการผลิต
- ผลิต ค้า หรือใช้แร่ใยหิน จำนวนมาก
- ผลิต หรือค้าเวชภัณฑ์ ยาฆ่าแมลง หรือสารเคมีทำลายชั้นโอโซนที่ถูกสั่งห้ามในระดับนานาชาติ
- การจดทะเบียนที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของคณะกรรมมาธิการสหภาพยุโรปควบคุมการใช้สารเคมีด้วยระเบียบของสหภาพยุโรป
4) อุตสาหกรรมเหมืองแร่
- การระเบิดภูเขา
- การทำเหมืองถ่านหินแห่งใหม่
5) น้ำมันและก๊าซ
- กลุ่มพลังงานที่ดำเนินงานในพื้นที่อาร์กติก
- ธุรกิจทรายน้ำมัน
6) การขนส่งและโลจิสติกส์
- กระบวนการทุบทิ้งเรือเป็นเหล็กหรือใช้ทรัพยากรที่ไม่ยั่งยืน
- การขนส่งน้ำมันหรือสารอันตรายโดยใช้เรือประเภทเปลือกเรือชั้นเดียวหรือเรือที่ไม่อยู่ในข้อกำหนดองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization: IMO)
- กระบวนการย่อยเหล็กที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด Hong Kong Ship Recycling Convention
- ละเมิดข้อตกลง อนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนและการกำจัดซึ่งของเสียอันตราย
7) สาธารณูปโภค
- สินเชื่อโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ตั้งเป็นเอกเทศ (Stand Alone)
- เหมืองแร่ถ่านหินใหม่
ส่งผลให้ ABN AMRO Bank มีคะแนนประเมินเฉลี่ยอยู่ที่ 55 คะแนน และได้คะแนนสูงในหมวดการทุจริตคอร์รัปชัน สิทธิมนุษยชน สิทธิแรงงาน อาวุธ และธรรมชาติ
เปรียบเทียบคะแนนของธนาคาร ABN AMRO กับคะแนนเฉลี่ยธนาคารไทย
กลุ่มธนาคาร Sumitomo Mitsui เป็นสถาบันการเงินที่รับเอาหลัก equator principle: EPs ซึ่งเป็นกรอบการจัดการความเสี่ยงด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของสินเชื่อโครงการ
ซึ่งทางกลุ่มธนาคาร Sumitomo Mitsui ระบุว่าจะไม่ปล่อยสินเชื่อให้กับลูกหนี้ที่ไม่สามารถหรือไม่ยินดี ที่จะทำตามนโยบายและกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม โดย Sumitomo Mitsui จะมีฝ่ายวิเคราะห์สินเชื่อเพื่อประเมินความเสี่ยง ESG และฝ่ายวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมของธนาคาร ที่มี
- กระบวนการกลั่นกรองโครงการ
- ทบทวนเรื่องสิ่งแวดล้อมของโครงการ
- ติดตามด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการ
ธนาคาร Sumitomo Mitsui Trust Bank มีคะแนนประเมินเฉลี่ยอยู่ที่ 55 คะแนน และได้คะแนนสูงในหมวดการทุจริตคอร์รัปชัน สิทธิมนุษยชน และสิทธิแรงงาน
เปรียบเทียบคะแนนของธนาคาร Sumitomo Mitsui Trust Bank กับคะแนนเฉลี่ยธนาคารไทยในหมวดธรรมชาติ
นอกจากนี้ ยังมีธนาคาร Standard Chartered ถือเป็นตัวอย่างของธนาคารที่มีมาตรฐานด้านจริยธรรมและความซื่อสัตย์ในการปล่อยกู้ให้กับกิจการพลังงาน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตกระแสไฟฟ้าจากน้ำที่สร้างผลกระทบสูงต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งยังก่อผลกระทบข้ามพรมแดนอีกด้วย
เพราะทาง Standard Chartered
ถึงขั้นแถลงการณ์จุดยืน ยกตัวอย่างเช่น สำหรับลูกค้าโครงการไฟฟ้าพลังงานน้ำนั้นจะต้องปฏิบัติตามข้อตกลง
1) ปฏิบัติตามกรอบของคณะกรรมการโลกด้านเขื่อน (World Commission on Dams: WCD)
2) ทำตามการประเมินความยั่งยืนโครงการไฟฟ้าพลังน้ำของสมาคมไฟฟ้าพลังน้ำระหว่างประเทศ (The Hydropower Sustainability Assessment Protocol: HSAP)
3) ทำตามแนวทางปฏิบัติที่ดีของบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporation: IFC) เกี่ยวกับแนวทางด้านสิ่งแวดล้อมสุขภาพและความปลอดภัยสำหรับโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ
โดยข้อเสนอแนะของคณะกรรมการเขื่อนโลก มีหลักการสำคัญ 7 ข้อ ได้แก่
1) ต้องได้รับการยินยอมจากผู้ที่จะได้รับผลกระทบ ที่ต้องได้รับข้อมูลโครงการล่วงหน้าเพื่อประกอบการตัดสินใจ (Free, Prior and Informed Consent: FPIC)
2) ประเมินทางเลือกต่าง ๆ อย่างรอบด้าน ก่อนตัดสินใจ
3) จัดการเขื่อนเดิมให้ดีก่อน
4) อุ้มชูสายน้ำและวิถีชีวิต โดยประเมินทางเลือกต่างๆ โดยหลีกเลี่ยงผลกระทบ ลดและบรรเทาผลกระทบต่อแม่น้ำ
5) ยอมรับสิทธิและการแบ่งปันผลประโยชน์ โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบทางลบ ควรเป็นกลุ่มแรกที่ได้ประโยชน์ก่อน และต้องมีสิทธิในการเจรจาต่อรอง
6) มีหลักประกันว่าจะทำตาม กล่าวคือ มีหลักเกณฑ์และหลักปฏิบัติที่ชัดเจนที่ต้องปฏิบัติตาม มีแรงจูงใจและบทลงโทษสำหรับการไม่ปฏิบัติตาม
7) แบ่งปันแม่น้ำเพื่อสันติภาพ การพัฒนา และความมั่นคง สำหรับกรณีแม่น้ำที่ไหลผ่านหลายรัฐหรือหลายประเทศ