แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2561 สมาชิกประกอบด้วยบริษัทวิจัย 1 บริษัท และองค์กรภาคประชาสังคม 4 องค์กร ที่มีความสนใจร่วมกันในการติดตามผลกระทบและความท้าทายของธุรกิจธนาคาร และประสงค์จะร่วมกันผลักดันภาคธนาคารไทยให้ก้าวสู่แนวคิดและวิถีปฏิบัติของ “การธนาคารที่ยั่งยืน” (sustainable banking) อย่างแท้จริง ผ่านการนำมาตรฐาน Fair Finance Guide International (แนวปฏิบัติของแนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ เว็บไซต์ www.fairfinanceguide.org) มาใช้ในการประเมินนโยบายด้านต่าง ๆ ของธนาคารพาณิชย์ไทยที่เปิดเผยสู่สาธารณะ เริ่มจากปี พ.ศ. 2562 เป็นปีแรก


 

ผลการประเมินธนาคารตามแนวปฏิบัติของแนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2566

ผลการประเมินธนาคารไทย 11 แห่ง ตามเกณฑ์ Fair Finance Guide International 13 หมวด ประจำปี พ.ศ. 2566 พบว่าคะแนนเฉลี่ยของธนาคารทั้ง 11 แห่ง ลดลงเล็กน้อยจาก 33.94 คะแนนในปี พ.ศ. 2565 เป็น 32.92 คะแนนในปี พ.ศ. 2566 (ลดลง 0.78%) โดยธนาคารที่ได้คะแนนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ธนาคารทหารไทยธนชาต (39.20%) ธนาคารกสิกรไทย (33.14%) ธนาคารกรุงไทย (30.79%) ธนาคารไทยพาณิชย์ (29.85%) และ ธนาคารกรุงเทพ (29.49%) โดยธนาคารที่ได้คะแนนสูงสุด 4 อันดับแรก ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากผลการประเมินปี 2565 ขณะที่ธนาคารกรุงเทพขยับจากอันดับที่ 6 มาเป็นอันดับที่ 5 แทนที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (27.64%) 

ผลการประเมิน
บทความล่าสุด
1
รายงานการประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ "แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ" ปีที่ 6

ในปี พ.ศ. 2566 คณะวิจัยในโครงการ Fair Finance Thailand (แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย เว็บไซต์ www.fairfinancethailand.org, “แนวร่วมฯ”) จัดทำการประเมินนโยบายด้านต่าง ๆ ของสถาบันการเงินไทย 11 แห่ง ประกอบด้วยธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในไทย 8 แห่ง และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ 3 แห่ง ที่เปิดเผยสู่สาธารณะ นับเป็นปีที่หกที่มีการนำมาตรฐาน Fair Finance Guide International (แนวปฏิบัติของแนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ เว็บไซต์ www.fairfinanceguide.org) มาใช้ในประเทศไทย ตามเกณฑ์ Fair Finance Guide International ฉบับปี ค.ศ. 2023 

2
ความเห็นต่อ "มาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ระยะที่ 1 (Thailand Taxonomy Phase)"

เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย (Fair Finance Thailand, “แนวร่วมฯ ”) ได้นำส่งข้อคิดเห็น ต่อเอกสาร "ร่างมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม หรือ Thailand Taxonomy ระยะที่ 1

อ่านต่อได้ที่นี่
3
การรายงานการประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ "แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ" ครั้งที่ 5

ผลการประเมินนโยบายธนาคารประจำปี พ.ศ. 2565 สะท้อนให้เห็นว่าธนาคารพาณิชย์หลายแห่งมีการปรับปรุงนโยบายสินเชื่อและรายการธุรกิจที่ธนาคารจะไม่ให้การสนับสนุนทางการเงิน (exclusion list) ที่มีความชัดเจนมากกว่าทุกปี โดยเฉพาะการให้ความสำคัญมากขึ้นกับธุรกิจที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

อ่านต่อได้ที่นี่
4
ความเห็นต่อ “ร่างมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Thailand Taxonomy)”

แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย (Fair Finance Thailand) และองค์กรภาคีดังรายนามแนบท้าย ("แนวร่วมฯ") ชวนอ่านข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อ ร่างมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมระยะที่ 1 (Thailand Taxonomy phase 1) 

อ่านต่อได้ที่นี่

 

งานศึกษาวิจัยล่าสุด
1
แนวทางการจัดกลุ่มกิจกรรมเศรษฐกิจเขียวตามนิยามเดียวกัน เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่ยุติธรรม

แนวคิด “just energy transition” หรือ “การเปลี่ยนผ่านพลังงานที่ยุติธรรม” กำลังถูกนำเสนอเป็นกรอบคิดในการออกแบบและจัดการการเปลี่ยนผ่านพลังงานในแต่ละประเทศ ซึ่งหลักการดังกล่าวควรนำมาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุง การจัดกลุ่มกิจกรรมสีเขียวตามนิยามเดียวกัน หรือ Thailand Taxonomy ที่ครอบคลุมกิจกรรมในภาคพลังงานและขนส่ง เพื่อให้ Thailand Taxonomy เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่ยุติธรรมในประเทศไทย

อ่านต่อได้ที่นี่
2
ผู้ประกอบการฟินเทคหน้าใหม่กับการขยายการเข้าถึงบริการทางการเงินในไทย: โอกาสและความท้าทาย

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบัน ประกอบกับพฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วโลกที่มีแนวโน้มจะทำธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัลมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการ ‘ฟินเทค’ (FinTech) ถูกคาดหวังจากหลายภาคส่วนว่าจะสามารถขยายการให้บริการทางการเงิน (financial inclusion) ไปยังกลุ่มคนที่เข้าไม่ถึงการเงินในระบบ อย่างไรก็ตามในความเป็นจริง ผู้ประกอบการฟินเทคในไทยยังต้องเผชิญกับความท้าทายอยู่หลายประการด้วยกัน

อ่านต่อได้ที่นี่
3
หลักการ "การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ" สู่การปฏิบัติ: กรณีโครงการไฟฟ้าพลังงานน้ำเขื่อนหลวงพระบาง

"โครงการเขื่อนหลวงพระบางบนแม่น้ำโขงสายประธาน" กำลังการผลิต 1460 เมกะวัตต์ เป็นหนึ่งในสี่เขื่อนที่ กฟผ. ของไทยจะทำสัญญาซื้อไฟฟ้า โดยมีผู้พัฒนาโครงการคือ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ ร่วมกับบริษัท ปิโตรเวียดนาม และอาจมีธนาคารของไทยร่วมเป็นผู้ให้เงินกู้ยืมในการลงทุนครั้งนี้ ที่ตั้งของเขื่อนอยู่เหนือเมืองหลวงพระบางขึ้นไปราว 25 กิโลเมตร ท่ามกลางความกังวลถึงผลกระทบต่อเมืองหลวงพระบาง เมืองมรดกโลก (World Heritage Site) ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ความจำเป็นด้านพลังงานของไทยและความเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น

อ่านต่อได้ที่นี่
4
บทบาทของสถาบันการเงินในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน

สถาบันการเงิน (financial institutions) เป็นภาคส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไปสู่ความยั่งยืน เนื่องจากเป็นตัวกลางการจัดสรรเงินทุนในระบบเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ด้วยลักษณะเฉพาะของภาคการเงิน อาทิ การเป็นระบบที่มีความเชื่อมโยงอย่างซับซ้อนในหลายภาคส่วน โครงสร้างที่ตั้งอยู่บนแรงจูงใจที่ผูกไว้กับการทำกำไรและการแข่งขันของตลาด จึงทำให้สถาบันการเงินมีโอกาสพบกับความเสี่ยงจากการทุจริตคอร์รัปชันได้สูง

อ่านต่อได้ที่นี่