เงินฝากของเรา อาจมีส่วนทำร้ายแม่น้ำโขง
สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่มักคาบเกี่ยวกับภาคการเงินบ่อยครั้ง ทั้งในแง่การเข้าไปมีส่วนร่วมของธนาคารเองหรือการให้สินเชื่อแก่โครงการที่มีความเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน ความสัมพันธ์เหล่านี้มักจมหายไปจากความเข้าใจของสังคม และในหลายครั้ง มันอยู่ใกล้ตัวของเรากว่าที่คาดคิด
ปัจจุบัน บทบาทของธนาคารในฐานะผู้ทำหน้าที่เป็นตัวกลางของระบบเงินตราในปัจจุบันจึงถูกเรียกร้องให้มองไปไกลกว่าเพียงแค่การดูแลรักษาระบบการหมุนเวียนของเงิน แต่รวมไปถึงสิทธิมนุษยชนของมนุษย์ผู้ถือเม็ดเงินเหล่านั้นด้วย คำถามคือ ธนาคารพานิชย์ในประเทศไทย ใส่ใจเรื่องนี้สักกี่มากน้อย
กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ชวน สฤณี อาชวานันทกุล หัวหน้าคณะวิจัย แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย (Fair Finance Thailand) และ ไพรินทร์ เสาะสาย จากองค์การแม่น้ำนานาชาติ (International Rivers) พูดคุยผ่าน podcast คลี่แนวคิดการเงินที่เป็นธรรม ผ่านมิติด้านสิทธิด้านสิทธิมนุษยชนและกรณีเขื่อนไซยะบุรี ซึ่งมีธนาคารไทยเป็นตัวละครสำคัญในชาตะกรรมของคนริมน้ำโขง
ผู้บริโภคอย่างเราๆ ท่านๆ อาจจำเป็นต้องตระหนักว่า การตัดสินใจเป็นลูกค้าธนาคารใดธนาคารหนึ่งโดยพิจารณาเฉพาะเรื่องอัตราดอกเบี้ยนั้นอาจไม่เพียงพอ เพราะสิทธิมนุษยชนก็เป็นอีกประเด็นสำคัญที่ไม่อาจมองข้าม