เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2567 แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย (แนวร่วมฯ) ได้ส่งจดหมายถึงธนาคารพาณิชย์ไทย เพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะต่อธนาคารในการพิจารณาให้การสนับสนุนทางการเงินแก่โครงการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ปากแบง (Pak Beng) และ ปากลาย (Pak Lay) ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
โดยในจดหมายดังกล่าว แนวร่วมฯ แนบคำถามและรายการเอกสารที่ควรขอจากบริษัทผู้ดำเนินโครงการและเรียกร้องให้บริษัทผู้ดำเนินโครงการเปิดเผยต่อสาธารณะในการดำเนินโครงการพัฒนาเขื่อนปากแบง (Pak Beng) และโครงการพัฒนาเขื่อนปากลาย (Pak Lay) ซึ่งเป็นประโยชน์ในการประเมินประเด็นเสี่ยง ESG ในสาระสำคัญ (material ESG risks) ดังแนวทางการปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบ (Responsible Lending Guidelines) ที่ธนาคารทุกแห่งขานรับ และธนาคารแห่งประเทศไทยให้การสนับสนุน
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 แนวร่วมฯ ได้นำส่งข้อเสนอแนะต่อธนาคารในการพิจารณาให้การสนับสนุนทางการเงินแก่โครงการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ปากแบง (Pak Beng) และปากลาย (Pak Lay) ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเพิ่มเติมอีกฉบับ ซึ่งแนบคำถามและข้อกังวลต่อความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการเขื่อนปากแบงและปากลาย โดยอ้างอิงจากหลักการอีเควเตอร์ (Equator Principle) เพื่อเป็นประโยชน์ในการพิจารณาการให้การสนับสนุนทางการเงินแก่โครงการดังกล่าว
แนวร่วมฯ หวังว่าข้อเสนอแนะตามจดหมายทั้ง 2 ฉบับจะเป็นประโยชน์ต่อธนาคารในการประเมินประเด็นเสี่ยง ESG ในสาระสำคัญของโครงการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำปากแบง (Pak Beng) และปากลาย (Pak Lay)