Grievance Mechanisms
ครั้งแรกในประเทศไทย! ร่วมกันเดินหน้าสร้างกลไกการรับเรื่องร้องเรียนที่มีประสิทธิผลในภาคการเงิน เพื่อยืนยันการปกป้องสิทธิ สู่การเงินการธนาคารที่ยั่งยืน
แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย (Fair Finance Thailand) เชิญชวนทุกท่านที่สนใจ ร่วมฟังเสวนาเปิดประเด็น ‘กลไกการรับเรื่องร้องเรียน’ (grievance mechanism) ในภาคการเงินการธนาคารครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อการสร้างช่องทางการปกป้องสิทธิของทุกท่าน ไม่ว่าท่านจะให้ความสนใจในประเด็นสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน และความเท่าเทียม หรือประเด็นอื่น ๆ รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคม ที่เกี่ยวข้องกับการเงินการธนาคาร
เวทีพูดคุยครั้งนี้นับเป็นหมุดหมายแรกสู่การสร้างกลไกการรับเรื่องร้องเรียนที่มีประสิทธิผล และครอบคลุม จากผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของธนาคาร ซึ่งรวมถึงผลกระทบที่เกิดจากบริษัทที่ธนาคารให้การสนับสนุนทางการเงินด้วย เพื่อนำไปสู่การเยียวยา (remedy) ที่เป็นธรรม ตามหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) เพื่อเดินหน้าสู่การเงินการธนาคารที่ยั่งยืน
วงเสวนานี้จะจัดขึ้นในรอบบ่าย ในหัวข้อ ‘สร้างหลักประกันในการเข้าถึงการเยียวยา: กลยุทธ์สำหรับธนาคารไทยในการพัฒนากลไกการรับเรื่องร้องเรียนที่มีประสิทธิผล’ โดย กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้แทนจากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ผู้แทนจากธนาคารต่างประเทศ และนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 14.45 - 16.15 น.
ณ ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand Learning Center)
วงเสวนาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของงาน “การปรับตัวรับโลกรวนและคะแนน ESG ของภาคธนาคารไทย”
โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงเช้าและช่วงบ่าย ที่มาพร้อมกับวงเสวนา-ถามตอบ ที่เข้มข้มจากผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงินการธนาคาร ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป
สำหรับรอบเช้า เวลา 10.40 น. ได้แก่ เวทีเสวนาและถาม-ตอบ ในหัวข้อ ‘เส้นทางสู่ Net Zero ในภาคธนาคาร: ความท้าทายและโอกาส’ โดย ผู้แทนจากธนาคาร ผู้แทนจากธนาคารโลก (World Bank) และผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนความเป็นธรรมทางการเงิน เพื่อความยั่งยืนในภาคการเงินการธนาคาร ในภาวะที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในหลายด้าน
สนใจร่วมงาน ลงทะเบียนได้ที่:
https://forms.gle/r5ymAjgVuD1r6rrN6
หรือรับชมผ่าน Facebook Live ที่เพจ Fair Finance Thailand
กดสนใจหรือเข้าร่วมเพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อกิจกรรมเริ่มต้นขึ้นได้ที่นี่: https://www.facebook.com/FairFinanceThailand?locale=th_TH