แถลงการณ์ เรียกร้องให้บริษัทไทยและสถาบันการเงินไทยที่ประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชน ระงับหรือถอนการลงทุนในเมียนมา ภายใต้สถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงโดยคณะรัฐประหารเมียนมา
เป็นที่ประจักษ์ว่านับตั้งแต่คณะเผด็จการทหารเมียนมาได้ก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 โดยข้ออ้างการทุจริตการเลือกตั้งของพรรครัฐบาลที่นำโดยพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ตลอดมาหลังการรัฐประหาร คณะรัฐประหารเมียนมาได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนนานัปการของประชาชนชาวเมียนมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมและการแสดงออก การปิดกั้นการนำเสนอข่าวสารของประชาชนและสื่อมวลชน การจับกุม กักขัง และทรมานนักการเมืองและประชาชนทั่วไปโดยไม่แจ้งข้อกล่าวหา การทำลายและขโมยทรัพย์สินของประชาชน และที่เลวร้ายที่สุดคือ การเข่นฆ่าประชาชนมือเปล่าที่ออกมาชุมนุมประท้วงอย่างสันติด้วยอาวุธสงครามอย่างเปิดเผย สังหารไม่เว้นแม้บุคลากรทางการแพทย์ โดย ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2564 มีผู้เสียชีวิตกว่า 500 ราย ในระยะเวลาสองเดือนนับตั้งแต่วันก่อการรัฐประหาร เหตุการณ์ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะและกำลังมุ่งหน้าเข้าสู่ภาวะสงครามกลางเมือง
การที่คณะรัฐประหารเมียนมาสามารถละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเนื่องเพราะมีรายได้จากบริษัทต่างชาติที่เข้าไปลงทุนในเมียนมา และรายได้ทางตรงจากธุรกิจของกองทัพ มาสนับสนุนปฏิบัติการก่อความรุนแรงต่อประชาชน โดยรายงานขององค์การสหประชาชาติระบุว่า ธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับกองทัพเมียนมาและผู้นำระดับสูงและเครือข่ายมีมากถึง 133 บริษัท โดยมีความโยงใยและสัมพันธ์กันผ่านกลุ่มบริษัท 2 กลุ่มบริษัทหลัก ได้แก่ Myanmar Economic Corporation (MEC) และ Union of Myanmar Economic Holding Ltd. ซึ่งลงทุนในธุรกิจที่หลากหลาย บริษัทเหล่านี้ล้วนไม่โปร่งใส เนื่องจากอยู่ภายใต้อำนาจของกองทัพเมียนมาที่แม้แต่รัฐบาลพลเรือนก็ไม่อาจแทรกแซงได้
สำหรับความรับผิดชอบที่ธุรกิจพึงมีต่อเหตุการณ์ดังกล่าว คณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Working Group) ได้ออกรายงานเรื่อง “Business, human rights and conflict-affected regions: towards heightened action” ในเดือนตุลาคม 2020 ซึ่งนำเสนอต่อสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ รายงานฉบับนี้เสนออย่างชัดเจนว่า ธุรกิจจะต้องลงมือปฏิบัติเชิงรุกและตัดสินใจอย่างเด็ดขาดมากขึ้น (more decisive action) ในพื้นที่ที่เกิดความขัดแย้ง ซึ่งสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงและยืดเยื้อ คณะทำงานเสนอว่า เมื่อบริษัทมาถึงจุดที่ต้องตัดสินใจว่าจะระงับหรือยกเลิกกิจกรรมของตนในพื้นที่ที่เกิดความขัดแย้ง หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง บริษัทควรหาทางออกจากพื้นที่นั้นๆ อย่างรับผิดชอบ (responsible exit) เริ่มจากการวางแผนกลยุทธ์การออกจากพื้นที่ ระบุและประเมินผลกระทบของการตัดสินใจนี้ที่จะมีต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งพันธมิตรทางธุรกิจและชุมชน และพัฒนากลยุทธ์การบรรเทาความเดือดร้อน เช่น แจ้งให้ชุมชน คู่ค้า ลูกจ้าง และพันธมิตรฝ่ายอื่นๆ ทราบล่วงหน้า การสร้างหลักประกันว่าลูกจ้างจะยังมีรายได้ตลอดช่วงที่เกิดความขัดแย้ง (หรือช่วงที่บริษัทระงับการลงทุน) มีมาตรการดูแลความปลอดภัยให้กับลูกจ้างที่ไม่อาจโยกย้ายออกจากพื้นที่ได้ และร่วมมือกับองค์กรภาคประชาชนที่สามารถเข้ามารับช่วงการช่วยเหลือ เป็นต้น
ในสถานการณ์ที่คณะรัฐประหารเมียนมาละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง และเข้าใกล้การก่อ “อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ” (crimes against humanity) ยิ่งขึ้นทุกขณะ พวกเราดังรายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ ในนามขององค์กรภาคประชาสังคมที่ติดตามการทำงานของภาคธุรกิจในประเด็นธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ขอเรียกร้องให้บริษัทของท่าน ในฐานะที่ประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชน (human rights policy) ประกาศระงับหรือถอนการลงทุนในเมียนมาจนกว่าประเทศจะกลับเข้าสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน และวางกลยุทธ์การออกจากพื้นที่อย่างมีความรับผิดชอบ (responsible exit) ตามข้อเสนอของคณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบของบริษัทว่าไม่ต้องการเป็นพันธมิตรหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับคณะรัฐประหารเมียนมาในฐานะผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) ซึ่งระบุว่าการยกเลิกความสัมพันธ์ (disengagement) กับพันธมิตรที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้น เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่บริษัทควรพิจารณา
การประกาศระงับหรือถอนการลงทุนในเมียนมานั้น นอกจากจะเป็นการแสดงความรับผิดชอบตามนโยบายสิทธิมนุษยชนของบริษัทแล้ว ยังเป็นไปตามหลักการชี้แนะ UNGP ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลด้านสิทธิมนุษยชน อีกทั้งยังเป็นการแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่าบริษัทจะอยู่เคียงข้างกับประชาชนชาวเมียนมา ในฐานะ “หุ้นส่วน” ของพวกเขาในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจอันเป็นจุดยืนที่ย่อมยังประโยชน์ทางธุรกิจมหาศาลต่อบริษัทเองในระยะยาว
ลงชื่อ
---
หน่วยงาน
- แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย (Fair Finance Thailand)
- คณะทำงานติดตามความรับผิดชอบการลงทุนข้ามพรมแดน (ETOs Watch Coalition)
- สมาคมส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม
- กลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง (The Mekong Butterfly)
- มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
- กลุ่มรักษ์เชียงของ
- Apropos Production
- Bfoor theatre
- Democrazy Studio
- For What Theatre
- FreeArts
- Homemade puppet
- Puppetomime
- Puppets by Jae
- soi press | literary | studio
- คณะทำงานจัดตั้งมูลนิธิละครไทย
- พระจันทร์เสี้ยวการละคร
- มูลนิธิละครไทย
- ราษฎร์ดรัมส์
- land Watch Thai
- ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น (ศพช.)
- เครือข่ายเพื่อนตะวันออก วาระเปลี่ยนตะวันออก
- ศูนย์ประสานงานชุมชน จ.ระยอง (ศ.ป.จ.) ระยอง
- เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล
- เครือข่ายเขียนอนาคตประเทศไทย
- สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
- มูลนิธิภาคใต้สีเขียว
- มูลนิธิเข้าถึงเอดส์
- เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ
- โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่
- กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
- เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่
- กลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดบำเหน็จณรงค์ (คัดค้านเหมืองโปแตชและโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.ชัยภูมิ)
- กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้าน (คัดค้านเหมืองทองคำ ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย)
- กลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาส (คัดค้านการขุดเจาะสำรวจแร่โปแตช อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร)
- กลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนเขาเหล่าใหญ่-ผาจันได (คัดค้านการทำเหมืองหิน ต.ดงมะไฟ อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู)
- กลุ่มรักษ์บ้านแหง (คัดค้านการขอประทานบัตรทำเหมืองถ่านหินลิกไนต์ ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง)
- สมาคมสร้างสุขชุมชนคนเมืองลุง
- โครงการอาหารปันรัก
- มหาวิทยาลัยชาวบ้านลานหอยเสียบ
- ศูนย์สร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา
- เครือข่ายสภาพลเมืองจังหวัดชลบุรี
- เครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดชลบุรี
- กลุ่มยกระดับสินค้าชุมชน ภาคตะวันออก
- สมาคมสภาองค์กรชุมชนจังหวัดชลบุรี
- สมาคมประมงพื้นบ้านจังหวัดชลบุรี
- สมาคมสื่อสร้างสรรค์ เพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว ภาคตะวันออก
- กลุ่มศึกษาการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC Watch)
- กรีนพีซ ประเทศไทย
- มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)
- กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก
- เครือข่ายชุมชนคนฮักน้ำของจังหวัดอุบลราชธานี
- สมาคมคนทามราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
- มูลนิธิพัฒนาอีสาน (NET Foundation)
- กลุ่มคนรักษ์ต้นน้ำจังหวัดราชบุรี
- สมาคมผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่น
- เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคอีสาน
- สมาคมผู้บริโภคภาคตะวันตก
- สมาคมพิทักษ์สิทธิผูบริโภคสมุทรสงครม
- ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนภาคตะวันตก
- สมาคมผู้บริโภคสุราษฎร์ธานี
- สมาคมผู้บริโภคสงขลา
- เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคใต้
- ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา
---
และบุคคลดังรายนามด้านล่าง
- กมลสรวง อักษรานุเคราะห์
- กวิน พิชิตกุล
- กอใจ อุ่ยวัฒนพงศ์
- เขมฌัษ เสริมสุขเจริญชัย
- คอลิด มิดำ
- คานธี วสุวิชย์กิต
- จตุรชัย ศรีจันทร์วันเพ็ญ
- จารุนันท์ พันธชาติ
- จิรกิตติ์ สุนทรลาภยศ
- เจนวิชญ์ นฤขัตพิชัย
- ณัฐญา อยู่สม
- ณัฐวัจน์ สุจริต
- ดุจดาว วัฒนปกรณ์
- ทวิทธิ์ เกษประไพ
- ธงชัย พิมาพันธุ์ศรี
- ธนนพ กาญจนวุฒิศิษฎ์
- ธนพล วิรุฬหกุล
- ธีระวัฒน์ มุลวิไล
- นวลปณต ณัฐ เขียนภักดี
- นัสรี ละบายดีมัญ
- เบญจ์ บุษราคัมวงศ์
- ปฏิพล อัศวมหาพงษ์
- ประภามณฑล เอี่ยมจันทร์
- ปองจิต สรรพคณุ
- เผ่าภูมิ ชิวารักษว์
- พีรพล กิจรื่นภิรมย์สุข
- พุทธิพร สุทธิมานัฎ
- เพียงดาว จริยะพันธุ์
- ภาสกร อินทุมาร
- ภิญญา จู่คำศรี
- เยาวเรศ กตัญญเสริมพงศ์
- ลัดดา คงเดช
- วรัญญู อินทรกำแหง
- วรัฏฐา ทองอยู่
- วสุรัชต อุณาพรหม
- วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล
- วิชย อาทมาท
- เววิรี อิทธิอนันต์กุล
- ศศพินทุ์ ศิริวาณิชย์
- ศุรัณยา ปุญญพิทักษ์
- สมบูรณ์ คำแหง
- สรวิศ ชินแสงทิพย์
- สายฟ้า ตันธนา
- สินีนาฏ เกษประไพ
- สิริกาญจน์ บรรจงทัด
- สุทธิสิปป์ ฐิติธนพันธ์
- สุธารัตน์ สินนอง
- สุพงศ์ จิตต์เมือง
- นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกจิ
- สุรชัย เพชรแสงโรจน์
- สุรัตน์ แก้วสีคร้าม
- อรอนงค์ ไทยศรีวงศ์
- อัจจิมา ณ พัทลุง
- อาริยา เทพรังสิมันต์กุล
---
รายนามบริษัทไทยที่ลงทุนในเมียนมา และประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชน
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกสิกรไทย (มหาชน)
- บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
- บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ซีฟโก้ จำกัด (มหาชน)
- บริษัท สหกลอิควิปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
- บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน)
- บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด
- บริษัท ทีทีซีแอล จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)
---