ธนาคารไทยกับความใส่ใจในการป้องกันการฟอกเงิน
เมื่อพูดถึง “การฟอกเงิน” หลายคนคงจะนึกถึงธนาคารเป็นอย่างต้นๆ แต่ธนาคารที่ดีย่อมมีนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่เด็ดขาดในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน แล้วธนาคารไทยใส่ใจกับประเด็นนี้มากแค่ไหน?
.
จากการประเมินตาม Fair Finance Guide International หรือแนวปฏิบัติของแนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ ประจำปีพ.ศ. 2562 ธนาคารไทยเกือบทุกแห่งที่ได้รับการประเมินได้คะแนนในหมวดการทุจริตคอร์รัปชันทั้งหมด 5 ข้อ จาก 12 ข้อ ในเกณฑ์ว่าด้วยการประกาศไม่รับสินบน การมีนโยบายต่อต้านการฟอกเงิน การป้องกันการสนับสนุนทางการเงินกับกลุ่มก่อการร้าย การเปิดเผยผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง และการมีมาตรฐานเพิ่มเติม เมื่อทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางการเมือง
.
ส่วนธนาคารทหารไทย ได้มากกว่าธนาคารอื่น 1 ข้อรวมเป็น 6 จาก 12 ข้อ ใน 5 เกณฑ์เดียวกันกับทุกธนาคาร และจากการมีรายงานว่ามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจของการกำหนดข้อตกลงระหว่างประเทศและกระบวนการออกกฎหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมการล็อบบี้
.
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากการที่ประเทศไทยมีกฎหมาย มาตรการและหลักเกณฑ์คอยควบคุมอยู่ ได้แก่ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มาตรการป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย รวมทั้งประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่องหลักเกณฑ์การรับฝากเงินหรือการรับเงินจากประชาชน
.
ความจริงแล้วธนาคารไทยสามารถใส่ใจในการป้องกันการฟอกเงินได้มากขึ้น ด้วยการมีนโยบายเพิ่มเติม เช่น การสนับสนุนบริษัทที่เปิดเผยรายชื่อผู้ได้รับประโยชน์ที่แท้จริง หรือเจ้าของที่แท้จริง รวมถึงชื่อจริง นามสกุลจริง วันเกิด สัญชาติ แหล่งพำนัก จำนวนและประเภทหุ้น และสัดส่วนการถือหุ้นหรือสัดส่วนอำนาจควบคุมบริษัท การสนับสนุนบริษัทที่ประกาศว่าจะไม่นำเสนอสัญญาเรียกร้องสินบน และข้อได้เปรียบอื่นๆ ที่ไม่เป็นธรรมทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อให้ได้มาซึ่งธุรกิจ เป็นต้น
.
ถ้าอยากให้ธนาคารไทยใส่ใจกับปัญหาการฟอกเงินมากขึ้น ก็ไปที่ www.fairfinancethailand.org ได้เลย
#FairFinanceThailand #การฟอกเงิน