ไปต่ออย่างไร เมื่อหมดเวลาพักชำระหนี้

19 พฤศจิกายน 2563

เชื่อว่าขณะนี้หลายคนที่เข้าร่วมโครงการมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ของธนาคารหรือสถาบันการเงินตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ครบระยะเวลาพักชำระหนี้ หรือใกล้จะครบระยะแล้ว
.
Fair Finance Thailand ชวนมาดูกันว่าตอนนี้สถาบันการเงินและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการเตรียมนโยบายหรือแนวทางไปต่ออย่างไรไม่ให้กระทบสภาพคล่องและเกิดปัญหาหนี้เสีย (NPL) หลังสิ้นสุดมาตรการพักชำระหนี้ (ที่มีกำหนด 22 ตุลาคม 2563) กันบ้าง
ในช่วงก่อนครบระยะเวลาพักชำระหนี้ สถาบันการเงินจะติดตามดูแลลูกหนี้อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง จัดทำช่องทางให้ลูกหนี้แจ้งสถานะ และความประสงค์ในการรับความช่วยเหลือเพิ่มเติม เช่น การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ยืดระยะเวลาชำระหนี้ หรือลดอัตราดอกเบี้ย โดยธนาคารบางแห่งได้เริ่มออกมาตรการมารองรับแล้ว

อย่างเช่น ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME D Bank) ที่ผ่านมามีลูกค้าเข้าร่วมมาตรการกว่า 43,000 ราย มูลค่ารวม 66,000 ล้านบาท ได้ขยายเวลาพักชำระหนี้เงินต้น คงเหลือชำระเฉพาะดอกเบี้ยไปได้อีก 6 เดือน เริ่มตั้งแต่ 22 ตุลาคม 2563 เป็นต้นไป โดยให้สิทธิสำหรับลูกค้าที่มีสถานะชำระปกติ ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2563

ด้านธนาคารออมสิน ได้ขยายเวลามาตรการพักชำระหนี้อัตโนมัติต่อไปอีก 3 เดือน เริ่มมีผลตั้งแต่ 1 ตุลาคม - 31 ธันวาคม 2563 รวมทั้งเปิดผู้ประสงค์ออกจากมาตรการ เลือกแผนชำระหนี้ได้ 3 ทางเลือก คือ
แผนที่ 1: พักชำระเงินต้น ชำระเฉพาะดอกเบี้ยทั้งจำนวน 100%
แผนที่ 2: พักชำระดอกเบี้ยปกติทั้งจำนวน 100% และเงินต้น 50%
แผนที่ 3: ชำระเงินงวดต่อเดือนตามเงื่อนไขในสัญญาเงินกู้หรือสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้เดิม

ที่มา
https://www.prachachat.net/finance/news-534638
https://www.gsb.or.th/.../%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0.../
ส่วนมาตรการหลังสิ้นสุดระยะเวลาพักชำระหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย เตรียมออกมาตรการมารองรับทั้งการขยายเวลาพักชำระหนี้ การแก้ไขหลักเกณฑ์วงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) จัดตั้งกองทุนพิเศษ เพื่อส่งต่อสภาพคล่องให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ให้มีประสิทธิผลและตรงจุดมากขึ้น

ด้านการช่วยเหลือภาคสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยมีแนวคิดเรื่องการบริหารสินทรัพย์ (AMC) โดยใช้ “Ware Housing” เทคโนโลยีในการจัดเก็บ ประมวลผล เรียกใช้และเผยแพร่ข้อมูล เข้ามาช่วยประคองเศรษฐกิจ รักษาเสถียรภาพสถาบันการเงิน ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการหารือ

อย่างไรก็ตาม สถาบันการเงินมีข้อมูลว่าลูกหนี้ที่เข้าโครงการช่วยเหลือส่วนใหญ่เกือบ 60% สามารถกลับมาชำระได้ตามปกติส่วนที่เหลือ 40% ยังจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือทั้งการยืดหนี้และปรับโครงสร้างหนี้เฉพาะราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกค้า SMEs ส่วนรายย่อยนั้นมีมาตรการให้ความช่วยเหลือที่หลากหลายแล้ว

ที่มา
https://www.prachachat.net/finance/news-537066
https://www.prachachat.net/finance/news-534140
https://www.moneyandbanking.co.th/.../bot-debt-covid-19-1410
https://www.thairath.co.th/.../finance-banking/1952090
https://www.thairath.co.th/.../finance-banking/1944951
สุดท้ายแล้วมาตรการอย่างเป็นทางการจากธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกมาในรูปแบบใดบ้าง ลูกหนี้ยังคงต้องติดตามข่าวสารในช่วงนี้อย่างใกล้ชิด รวมทั้งศึกษานโยบาย เงื่อนไข และสิทธิพิเศษเพิ่มเติมที่ออกโดยสถาบันการเงินอย่างละเอียด เพื่อเป็นการรักษาสิทธิของตนและสามารถเข้าร่วมโครงการที่เหมาะสมกับสภาพคล่องทางการเงินในขณะนี้มากที่สุด

#FairFinanceThailand #หนี้ #พักชำระหนี้ #มาตรการพักชำระหนี้