หัวข้อต่อไปนี้ใช้ประเมินนโยบายระดับปฏิบัติการของสถาบันการเงิน
1. สถาบันการเงินอธิบายกรอบการออกเงินสนับสนุนและการลงทุนขององค์กร ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อม และอธิบายว่าองค์กรจะมั่นใจได้อย่างไรว่าการลงทุนเป็นไปตามเงื่อนไขในนโยบายขององค์กร
2. กรอบการออกเงินสนับสนุนและการลงทุนของสถาบันการเงินได้รับการตรวจสอบโดยองค์กรภายนอก และเผยแพร่ผลการตรวจสอบต่อสาธารณะ
3. สถาบันการเงินเผยแพร่ชื่อของรัฐบาลที่ตนไปลงทุน (เช่น ลงทุนในกองทุนบำนาญของประเทศนั้นๆ เป็นต้น)
4. สถาบันการเงินเผยแพร่ชื่อของบริษัทที่ตนไปลงทุน
5. สถาบันการเงินเปิดเผยรายชื่อบริษัทที่ปล่อยสินเชื่อใหม่ในปีที่ผ่านมา บนเว็บไซต์ของสถาบันการเงิน
6. สถาบันการเงินเปิดเผยรายชื่อบริษัทที่ปล่อยสินเชื่อทั้งหมด (เก่าและใหม่) บนเว็บไซต์ของสถาบันการเงิน
7. สถาบันการเงินเผยแพร่ชื่อสินเชื่อโครงการ (project finance) และสินเชื่อธุรกิจทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับโครงการ รวมถึงข้อมูลที่กำหนดในมาตรฐานอีเควเตอร์ (Equator Principles III)
8. สถาบันการเงินเผยแพร่พอร์ตสินเชื่อตามภูมิภาค ขนาด และอุตสาหกรรม (ตามมาตรฐาน GRI FSSD FS6)
9. สถาบันการเงินเผยแพร่พอร์ตสินเชื่อในตารางไขว้ ผสมข้อมูลสินเชื่อรายอุตสาหกรรมกับข้อมูลสินเชื่อรายภูมิภาค
10. สถาบันการเงินตีพิมพ์เผยแพร่พอร์ตสินเชื่ออย่างละเอียด เช่น โดยใช้มาตรฐานการเผยแพร่ข้อมูลสองหลักแรกของ NACE และ ISIC
11. สถาบันการเงินตีพิมพ์เผยแพร่พอร์ตสินเชื่ออย่างละเอียด เช่น โดยใช้มาตรฐานการเผยแพร่ข้อมูลสี่หลักแรกของ NACE และ ISIC
12. สถาบันการเงินเผยแพร่จำนวนบริษัทที่องค์กรเคยมีปฏิสัมพันธ์ด้วยในประเด็นสังคมและสิ่งแวดล้อม (ตามมาตรฐาน GRI G4 FSSD FS10)
13. สถาบันการเงินเผยแพร่ชื่อบริษัทที่องค์กรเคยมีปฏิสัมพันธ์ด้วยในประเด็นสังคมและสิ่งแวดล้อม
14. สถาบันการเงินเผยแพร่ผลของการมีปฏิสัมพันธ์ตามข้อ 12. รวมถึงหัวข้อ เป้าหมาย และเส้นตาย
15. สถาบันการเงินเผยแพร่ชื่อของบริษัทที่ตัดสินใจไม่ลงทุนเนื่องจากประเด็นด้านความยั่งยืน รวมถึงเผยแพร่เหตุผลที่ไม่ลงทุน
16. สถาบันการเงินเปิดเผยนโยบายการออกเสียง ซึ่งรวมแนวปฏิบัติว่าจะออกเสียงอย่างไรในวาระการประชุมผู้ถือหุ้นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
17. สถาบันการเงินเผยแพร่สถิติการออกเสียง
18. สถาบันการเงินเผยแพร่รายงานความยั่งยืนที่เนื้อหาบางข้อทำตามมาตรฐาน GRI (ระดับ Core หรือ Comprehensive)
19. สถาบันการเงินเผยแพร่รายงานความยั่งยืนที่ทำตามมาตรฐาน GRI (ระดับ Core หรือ Comprehensive) ทั้งฉบับ
20. รายงานความยั่งยืนของสถาบันการเงินได้รับการตรวจทานจากบุคคลที่สาม
21. สถาบันการเงินรายงานการปรึกษาหารือกับองค์กรภาคประชาสังคมและผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มอื่นๆ
22. สถาบันการเงินเปิดเผยการจำแนกสินทรัพย์ แบ่งเป็นสินทรัพย์ที่บริหารภายใน และสินทรัพย์ที่บริหารโดยบุคคลภายนอก
23. สถาบันการเงินเปิดเผยรายชื่อของผู้บริหารสินทรัพย์ภายนอก
24. สถาบันการเงินจัดตั้งกลไกเพื่อสร้างหลักประกันว่า ผู้บริหารสินทรัพย์ภายนอกจะมีส่วนร่วมกับบริษัทที่เข้าไปลงทุนและออกเสียงในฐานะผู้ถือหุ้น ตามนโยบายความยั่งยืนของสถาบันการเงิน
25. สถาบันการเงินมีกลไกรับเรื่องร้องเรียนสำหรับปัจเจกบุคคลและชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบทางลบจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน และกลไกนั้นรวมถึงกิจกรรมที่สถาบันการเงินให้การสนับสนุนทางการเงินด้วย
26. สถาบันการเงินมีกลไกรับเรื่องร้องเรียนที่เข้าถึงได้ง่าย และอธิบายกระบวนการรับมือกับข้อร้องเรียนอย่างชัดเจน
27. สถาบันการเงินรายงานความคืบหน้าและผลลัพธ์ของกลไกรับเรื่องร้องเรียน
28. สถาบันการเงินต้องเคารพและยินดีให้ความร่วมมือในกระบวนการร้องทุกข์ที่เกิดขึ้นในรัฐ ทั้งที่มีและไม่มีการพิจารณาคดี เมื่อกรณีที่สถาบันการเงินมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยต้องเข้าสู่กระบวนการร้องทุกข์