ผลการประเมินธนาคารในหมวด

ข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับการตอบแทน

เกณฑ์หมวดนี้มุ่งเน้นการเปิดเผยโครงสร้างค่าตอบแทน และคาดหวังให้ธนาคารมีนโยบายการจ่ายโบนัสที่ไม่เอื้อต่อการสร้างแรงจูงใจที่ไม่เหมาะสมแก่พนักงานและผู้บริหาร  

ผลการประเมินในปีนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยเป็นธนาคาร 7 แห่งที่ได้คะแนนในหมวดนี้ โดยในปีนี้คะแนนเฉลี่ยลดลง เนื่องจากเกณฑ์การประเมินฉบับปรับปรุงในปี ค.ศ. 2021 มีการปรับลดเกณฑ์การประเมินในหมวดการตอบแทน 2 ข้อ ที่คาดหวังให้ธนาคารมีการเปิดเผยนโยบายเงินโบนัสตั้งอยู่บนความพึงพอใจของพนักงานและลูกค้า ส่งผลให้ธนาคารที่เคยได้คะแนนในข้อดังกล่าวไม่ได้รับคะแนน รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาการประเมินในข้อ 8 และ 9 ที่คาดหวังเพิ่มเติมให้ธนาคารกำหนดเป้าหมายการจัดสรรเงินโบนัสที่ตั้งอยู่บนการปรับปรุงผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม สำหรับการจัดการและการปฏิบัติการของธนาคาร และสำหรับการลงทุนและการให้บริการทางการเงินของธนาคาร จึงส่งผลให้ธนาคารที่เคยได้คะแนนในข้อดังกล่าว ส่งผลให้คะแนนเฉลี่ยของธนาคารในภาพรวมลดลงด้วย

ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ได้คะแนนจากการกำหนดเพดานการจ่ายโบนัสไว้ไม่เกิน 100% ของเงินเดือนตลอดปี ขณะที่ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารทหารไทยธนชาต ได้คะแนนในส่วนของการเปิดเผยหลักเกณฑ์ของเงินโบนัสที่ตั้งอยู่บนการปรับปรุงผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งในการจัดการ การปฏิบัติการ และการลงทุนของสถาบันการเงิน

อย่างไรก็ตาม ธนาคารไทยพาณิชย์ได้คะแนนลดลงในเรื่องการกำหนดสัดส่วนเงินโบนัสอย่างน้อยหนึ่งในสามให้ตั้งอยู่บนหลักเกณฑ์ที่ไม่ใช่เกณฑ์ทางการเงิน เนื่องจากธนาคารไทยพาณิชย์ประกาศนโยบายการประเมินผลความสำเร็จและค่าตอบแทนของผู้บริหารระดับสูงฉบับใหม่ซึ่งไม่ระบุสัดส่วนเงินโบนัส และธนาคารทหารไทยธนชาตเป็นธนาคารแห่งเดียวที่ได้คะแนนจากการอธิบายอย่างชัดเจนถึงหลักการที่ใช้กับการจ่ายค่าตอบแทนพนักงานแต่ละกลุ่ม

หมวดการตอบแทนประเมินตามเกณฑ์ประกอบด้วย 12 หัวข้อดังต่อไปนี้

หัวข้อต่อไปนี้ใช้ประเมินนโยบายระดับปฏิบัติการของสถาบันการเงิน 

1. สถาบันการเงินสงวนสิทธิ์ที่จะเรียกเงินโบนัสคืน ถ้าหากปรากฏภายหลังจากที่ได้เงินไปแล้วว่าได้รับโบนัสโดยมิชอบ (กลไก clawback)

2. สถาบันการเงินกำหนดเพดานการจ่ายโบนัสไว้ไม่เกิน 100% ของเงินเดือนตลอดปี

3. สถาบันการเงินกำหนดเพดานการจ่ายโบนัสไว้ไม่เกิน 20% ของเงินเดือนตลอดปี

4. สถาบันการเงินกำหนดเพดานการจ่ายเงินเดือนไว้ไม่เกินยี่สิบเท่าของเงินเดือนที่ต่ำที่สุดในองค์กร หรือขั้นสูงสุดของช่วงเงินเดือนที่ต่ำที่สุดภายในสถาบัน

5. เงินโบนัสอย่างน้อย 60% ขึ้นอยู่กับเป้าหมายระยะยาว (ซึ่งไม่เหมือนกับข้อตกลงที่จะเลื่อนจ่ายโบนัสออกไป)

6. เงินโบนัสอย่างน้อยหนึ่งในสามตั้งอยู่กับหลักเกณฑ์ที่ไม่ใช่เกณฑ์ทางการเงิน

7. เงินโบนัสอย่างน้อยสองในสามตั้งอยู่กับหลักเกณฑ์ที่ไม่ใช่เกณฑ์ทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความยั่งยืน

8. เงินโบนัสตั้งอยู่บนการปรับปรุงผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของการจัดการและปฏิบัติการของสถาบันการเงิน และเปิดเผยเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรค่าตอบแทนผันแปร (variable renumeration เช่น โบนัส)

9. เงินโบนัสตั้งอยู่บนการปรับปรุงผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของการลงทุนและการให้บริการทางการเงินของสถาบันการเงิน และเปิดเผยเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรค่าตอบแทนผันแปร (variable renumeration เช่น โบนัส)

10. สถาบันการเงินอธิบายอย่างชัดเจนถึงหลักการที่ใช้กับการจ่ายค่าตอบแทนพนักงานแต่ละกลุ่ม (คณะกรรมการ คณะกรรมการบริหาร ผู้บริหารระดับสูง พนักงานที่นำเงินลูกค้าไปเสี่ยง (risk takers) เป็นต้น)

หัวข้อต่อไปใช้สำหรับบริษัทที่สถาบันการเงินลงทุนหรือให้การสนับสนุนทางการเงิน

-

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็น

ส่งข้อความของคุณเรียบร้อย

×