ผลการประเมินธนาคารในหมวด

ข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับธรรมชาติ

เกณฑ์หมวดนี้ประเมินนโยบายเกี่ยวกับธุรกิจที่ธนาคารให้การสนับสนุนทางการเงิน เกณฑ์หลายข้อมุ่งเน้นให้ธนาคารมีนโยบายสินเชื่อเกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่สุ่มเสี่ยงต่อการสร้างผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น อุตสาหกรรมทรายน้ำมัน การค้าชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ซึ่งอยู่ในรายการแนบท้ายของอนุสัญญาไซเตส (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora - CITES) เป็นต้น

ผลการประเมินในปี พ.ศ. 2565 พบว่า ในปีนี้ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารทหารไทยธนชาต และธนาคารไทยพาณิชย์ โดยธนาคารทหารไทยธนชาตได้คะแนนเป็นอันดับหนึ่งในหมวดนี้ เนื่องจากธนาคารมีการกำหนดรายการธุรกิจที่ธนาคารจะไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินเพื่อเฝ้าระวังผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมจากกิจกรรมหรือธุรกิจบางประเภทเป็นพิเศษ เช่น การประกาศว่าธนาคารจะไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินกับธุรกิจที่มีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือเสื่อมโทรมของพื้นที่คุ้มครองหรือถิ่นที่อยู่อาศัยที่มีความเปราะบาง ได้แก่ แหล่งมรดกโลกขององค์การยูเนสโกพื้นที่คุ้มครอง (UNESCO World Heritage Sites Protected areas) อนุสัญญาแรมซาร์ว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ (Ramsar Convention on Wetlands) และพื้นที่ที่มีคุณค่าด้านการอนุรักษ์สูง (High Conservation Value Forest) เป็นต้น

ธนาคารไทยพาณิชย์ได้รับคะแนนในหมวดนี้เป็นปีแรก จากการกำหนดให้ลูกค้าของธนาคารมีการจัดทำการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมว่าด้วยผลกระทบโดยรวมของโครงการขนาดใหญ่ต่อความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างน้อยตามแนวทางที่ระบุในมาตรฐาน GRI 304: Biodiversity 2016 หรือมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ขณะที่ธนาคารกสิกรไทยประกาศนโยบายนโยบายเครดิต ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล และแนวปฏิบัติในการพิจารณาสินเชื่อสำหรับอุตสาหกรรมเฉพาะที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติบอนน์ (Bonn Guidelines) หรือพิธีสารนาโกยา (Nagoya Protocol) และปฏิบัติตามข้อกำหนดของพิธีสารคาร์ตาเฮนา นอกจากนี้ ธนาคารกรุงศรีอยุธยาประกาศไม่สนับสนุนสินเชื่อแก่ธุรกรรมที่มีลักษณะธุรกรรมพึงระมัดระวัง (Restricted Transactions) มีแนวโน้มความเสี่ยงด้าน ESG ต่อพื้นที่ที่มีคุณค่าด้านการอนุรักษ์สูง (High Conservation Value - HCV - areas) ภายในเขตปฏิบัติการของบริษัทและพื้นที่ที่บริษัทบริหารจัดการ

หมวดธรรมชาติประเมินตามเกณฑ์ประกอบด้วย 15 หัวข้อดังต่อไปนี้

หัวข้อต่อไปนี้ใช้ประเมินนโยบายระดับปฏิบัติการของสถาบันการเงิน

-

หัวข้อต่อไปใช้สำหรับบริษัทที่สถาบันการเงินลงทุนหรือให้การสนับสนุนทางการเงิน

1. บริษัทป้องกันผลกระทบทางลบต่อพื้นที่ที่มีคุณค่าด้านการอนุรักษ์สูง (High Conservation Value - HCV - areas) ภายในเขตปฏิบัติการของบริษัทและพื้นที่ที่บริษัทบริหารจัดการ

2. บริษัทป้องกันผลกระทบทางลบต่อพื้นที่ระดับ I-IV ตามการจัดหมวดขององค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature - IUCN) ภายในเขตปฏิบัติการของบริษัทและพื้นที่ที่บริษัทบริหารจัดการ

3. บริษัทป้องกันผลกระทบทางลบต่อพื้นที่มรดกโลกยูเนสโก (UNESCO World Heritage) ภายในเขตปฏิบัติการของบริษัทและพื้นที่ที่บริษัทบริหารจัดการ

4. บริษัทป้องกันผลกระทบทางลบต่อพื้นที่อนุรักษ์ตามอนุสัญญาแรมซาร์ว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar Convention on Wetlands) ภายในเขตปฏิบัติการของบริษัทและพื้นที่ที่บริษัทบริหารจัดการ

5. บริษัทป้องกันผลกระทบทางลบต่อประชากรสัตว์ที่อยู่ในบัญชีแดงสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ของไอยูซีเอ็น (IUCN Red List of Threatened Species)

6. การค้าพืชและสัตว์ใกล้สูญพันธุ์เป็นไปตามเงื่อนไขในอนุสัญญาไซเตส (CITES)

7. บริษัทไม่ยอมรับการค้าพืชและสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ที่อยู่ในรายการแนบท้ายอนุสัญญาไซเตส (CITES)

8. กิจกรรมในสาขาวัสดุพันธุกรรมและวิศวพันธุกรรม (genetic materials & genetic engineering) จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อมันผ่านเงื่อนไขการอนุญาตและประมวลผลตามอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพขององค์การสหประชาชาติ (UN Convention on Biological Diversity) และแนวปฏิบัติบอนน์ (Bonn Guidelines) หรือพิธีสารนาโกยา (Nagoya Protocol) เท่านั้น

9. การผลิตหรือการซื้อขายสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากประเทศผู้นำเข้าสินค้าและปฏิบัติตามข้อกำหนดของพิธีสารคาร์ตาเฮนา

10. บริษัทป้องกันการนำชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกราน (invasive alien species) (พืชหรือสัตว์) เข้าสู่ระบบนิเวศ

11. บริษัทจัดทำรายงานประเมินผลกระทบจากภาวะขาดแคลนน้ำ (water scarcity impact assessment) ในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำ

12. บริษัทมีมาตรการบรรเทาผลกระทบที่ครอบคลุม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการน้ำของชุมชนและระบบนิเวศ ในพื้นที่ที่รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมระบุว่าโครงการหรือปฏิบัติการของบริษัทอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อแหล่งน้ำ

13. บริษัทจัดทำการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมว่าด้วยผลกระทบโดยรวมของโครงการขนาดใหญ่ต่อความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างน้อยตามแนวทางที่ระบุในมาตรฐาน GRI 304: Biodiversity 2016 หรือมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

14. บริษัทบูรณาการหลักเกณฑ์ด้านธรรมชาติเข้าไปในนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและนโยบายปฏิบัติการของบริษัท

15. บริษัทใส่หลักเกณฑ์ด้านธรรมชาติเป็นเงื่อนไขในสัญญาที่ลงนามกับผู้รับเหมาช่วงและคู่ค้า

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็น

ส่งข้อความของคุณเรียบร้อย

×