ผลการประเมินธนาคารในหมวด

ข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับสิทธิแรงงาน

เกณฑ์หมวดนี้คาดหวังให้ธนาคารมีนโยบายด้านสิทธิแรงงานสอดคล้องกับคำประกาศขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในที่ทำงาน นอกจากนี้ เกณฑ์การประเมินยังครอบคลุมนโยบายด้านสิทธิแรงงานของบริษัทที่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารด้วย

ผลการประเมินในปี พ.ศ. 2565 พบว่า ในปีนี้ ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารทหารไทยธนชาต และธนาคารออมสิน ได้คะแนนจากการประกาศนโยบายด้านสิทธิแรงงานที่อ้างอิงคำประกาศขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในที่ทำงาน (ILO Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work) นอกจากนี้ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารออมสิน และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ได้คะแนนเพิ่มขึ้นจากการประกาศขั้นตอนในการจัดการกับข้อร้องเรียนของพนักงานและแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงาน ซึ่งธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยได้รับคะแนนในหมวดนี้เป็นปีแรกจากการประกาศนโยบายดังกล่าว

ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารทหารไทยธนชาต ได้คะแนนเพิ่มเติมจากการประกาศนโยบายการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ ที่กำหนดให้ลูกค้าของธนาคารต้องมีการรับรองสิทธิในการรวมกลุ่มและตระหนักอย่างมีประสิทธิผลในสิทธิการรวมกลุ่มต่อรอง ส่วนธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคากรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารทหารไทยธนชาต และธนาคารออมสิน ได้รับคะแนนจากการประกาศนโยบายการสนับสนุนทางการเงินแก่ลูกค้าที่มีการใช้แรงงานบังคับและแรงงานเด็กในการดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารทหารไทยธนชาต ได้คะแนนเพิ่มเติมจากกำหนดให้ลูกค้าของธนาคารมีนโยบายหรือแนวทางในการกำกับดูแลด้านสุขภาพและความปลอดภัยในที่ทำงาน

หมวดสิทธิแรงงานประเมินตามเกณฑ์ประกอบด้วย 15 หัวข้อดังต่อไปนี้

หัวข้อต่อไปนี้ใช้ประเมินนโยบายระดับปฏิบัติการของสถาบันการเงิน

1. สถาบันการเงินเคารพในคำประกาศของ ILO ว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในที่ทำงาน (ILO Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work)

2. สถาบันการเงินอย่างน้อยมีการบูรณาการมาตรฐานแรงงานตามคำประกาศของ ILO ว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในที่ทำงาน (ILO Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work) เข้าไปในนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและนโยบายปฏิบัติการขององค์กร

3. สถาบันการเงินมีขั้นตอนชัดเจนในการจัดการกับข้อร้องเรียนของพนักงานและแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงาน โดยควรให้ความสำคัญกับการปรึกษาหารือกับสหภาพแรงงาน

หัวข้อต่อไปใช้สำหรับบริษัทที่สถาบันการเงินลงทุนหรือให้การสนับสนุนทางการเงิน

4. บริษัทรับรองสิทธิในการรวมกลุ่มและตระหนักอย่างมีประสิทธิผลในสิทธิในการรวมกลุ่มต่อรอง

5. บริษัทไม่ยอมรับการใช้แรงงานบังคับทุกรูปแบบ

6. บริษัทไม่ยอมรับการใช้แรงงานเด็ก

7. บริษัทไม่ยอมรับการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและในที่ทำงาน

8. บริษัทประกาศว่าจะจ้างงานอย่างเป็นธรรม (fair recruitment practices)

9. บริษัทจ่ายค่าแรงที่เลี้ยงชีพและครอบครัวได้ (living wage) แก่พนักงาน

10. บริษัทกำหนดเพดานเวลาทำงาน (สูงสุด 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และทำงานล่วงเวลาสูงสุด 12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์)

11. บริษัทมีนโยบายสุขภาพและความปลอดภัยที่รอบด้านครบถ้วน

12. บริษัทรับประกันได้ว่าแรงงานข้ามชาติจะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม และมีสภาพการทำงานที่เท่าเทียมกับลูกจ้างคนอื่น ๆ

13. บริษัทมีระบบการบริหารจัดการที่ชัดเจนในการติดตาม และถ้าจำเป็นก็แก้ไข การปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงานตามกฎหมายแรงงาน

14. บริษัทจัดตั้งกระบวนการรับและจัดการกับเรื่องร้องเรียนจากพนักงาน และเพื่อแก้ไขข้อพิพาทและการละเมิดต่างๆ โดยควรปรึกษาหารือกับสหภาพแรงงานที่เกี่ยวข้อง

15. บริษัทบูรณาการหลักเกณฑ์ด้านสิทธิแรงงานเข้าไปในนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างของบริษัท

16. บริษัทใส่หลักเกณฑ์ด้านสิทธิแรงงานเป็นเงื่อนไขในสัญญาที่ลงนามกับผู้รับเหมาช่วงและคู่ค้า

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็น

ส่งข้อความของคุณเรียบร้อย

×