ผลการประเมินธนาคารในหมวด

ข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศ

เกณฑ์ในหมวดนี้คาดหวังให้ธนาคารสะท้อนถึงคุณค่าความเท่าเทียมในบริบทของเพศ โดยความเท่าเทียมทางเพศ หมายถึง การมีสิทธิ ความรับผิดชอบ และโอกาสที่เท่าเทียมกันโดยไม่มีข้อกำหนดด้านเพศ โดยนโยบายที่คาดหวัง เช่น นโยบายไม่ยอมรับการเลือกปฏิบัติทางเพศทุกรูปแบบในการจ้างงานและการทำงาน รวมถึงการคุกคามทางจิตวิทยา วาจา กายภาพ และทางเพศ (zero tolerance policy) นโยบายรับประกันการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในคณะกรรมการบริษัท และมาตรการส่งเสริมให้ผู้หญิงได้เข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง

ผลการประเมินในปี พ.ศ. 2565 พบว่า ในปีนี้ ธนาคารเกือบทุกแห่งได้คะแนนจากการมีนโยบายไม่ยอมรับการเลือกปฏิบัติทางเพศทุกรูปแบบ (zero tolerance policy) ในกระบวนการจ้างงานและการปฏิบัติงานที่คำนึงถึงความหลากหลายทางเพศ และไม่ยอมรับความรุนแรงทางเพศทุกรูปแบบในที่ทำงาน ซึ่งรวมถึงการคุกคามทางวาจา ทางร่างกาย และทางเพศ

ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารทหารไทยธนชาต และธนาคารออมสิน ได้คะแนนจากการเปิดเผย Pay Gap ระหว่างชายและหญิง ขณะที่ธนาคารกรุงไทย และธนาคารทหารไทยธนชาต ได้คะแนนจากการระบุว่า ธนาคารนำหลัก Market Conduct มาใช้ในการป้องกันและบรรเทาการเลือกปฏิบัติทางเพศต่อลูกค้า นอกจากนี้ ธนาคารกสิกรไทยเป็นธนาคารเดียวที่เปิดเผยอัตราความก้าวหน้าของผู้บริหารหญิงระดับกลางสู่การเป็นผู้บริหารระดับสูง
ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการส่งเสริมให้สตรีเข้าถึงตำแหน่งบริหาร

หมวดความเท่าเทียมทางเพศประเมินตามเกณฑ์ประกอบด้วย 15 หัวข้อดังต่อไปนี้

หัวข้อต่อไปนี้ใช้ประเมินนโยบายระดับปฏิบัติการของสถาบันการเงิน

1. สถาบันการเงินมีนโยบายไม่ยอมรับการเลือกปฏิบัติทางเพศทุกรูปแบบ (zero-tolerance policy) ในกระบวนการจ้างงานและในการปฏิบัติงาน ที่ชัดเจนว่าคำนึงถึงความหลากหลายทางเพศ

2. สถาบันการเงินมีนโยบายไม่ยอมรับความรุนแรงทางเพศทุกรูปแบบ (zero-tolerance policy) ในที่ทำงาน ซึ่งรวมการคุกคามทางวาจา ทางร่างกาย และทางเพศ

3. สถาบันการเงินมีระบบการจัดการความเท่าเทียมของค่าตอบแทน (pay equity) เชิงรุก

4. สถาบันการเงินมีระบบการป้องกันและบรรเทาการเลือกปฏิบัติทางเพศต่อลูกค้า

5. สถาบันการเงินรับประกันว่าผู้หญิงและผู้ชายจะสามารถเข้าถึงตำแหน่ง คณะกรรมการ คณะกรรมการบริหาร และผู้บริหารระดับสูง ได้อย่างเท่าเทียมกัน อย่างน้อย 30% ของตำแหน่งเหล่านี้

6. สถาบันการเงินรับประกันว่าผู้หญิงและผู้ชายจะสามารถเข้าถึงตำแหน่ง คณะกรรมการ คณะกรรมการบริหาร และผู้บริหารระดับสูง ได้อย่างเท่าเทียมกัน อย่างน้อย 40% ของตำแหน่งเหล่านี้

7. สถาบันการเงินมีโครงการพัฒนาศักยภาพในสายอาชีพสำหรับพนักงาน เพื่อส่งเสริมให้สตรีเข้าถึงตำแหน่งบริหารและกรรมการบริษัทอย่างเท่าเทียม

หัวข้อต่อไปใช้สำหรับบริษัทที่สถาบันการเงินลงทุนหรือให้การสนับสนุนทางการเงิน

8. บริษัทมีความทุ่มเทเชิงนโยบายที่บรรเทาความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่คนประสบ อันเป็นผลมาจากเพศสภาพของตนเอง

9. บริษัทมีนโยบายไม่ยอมรับการเลือกปฏิบัติทางเพศทุกรูปแบบ (zero-tolerance policy) ในกระบวนการจ้างงานและในการปฏิบัติงาน ที่ชัดเจนว่าคำนึงถึงความหลากหลายทางเพศ

10. บริษัทมีนโยบายไม่ยอมรับความรุนแรงทางเพศทุกรูปแบบ (zero-tolerance policy) ในที่ทำงาน ซึ่งรวมการคุกคามทางวาจา ทางร่างกาย และทางเพศ

11. บริษัทมีระบบการจัดการความเท่าเทียมของค่าตอบแทน (pay equity) เชิงรุก

12. บริษัทมีระบบการป้องกันและบรรเทาการเลือกปฏิบัติทางเพศต่อลูกค้า

13. บริษัทรับประกันว่าผู้หญิงและผู้ชายจะสามารถเข้าถึงตำแหน่ง คณะกรรมการ คณะกรรมการบริหาร และผู้บริหารระดับสูง ได้อย่างเท่าเทียมกัน อย่างน้อย 30% ของตำแหน่งเหล่านี้

14. บริษัทรับประกันว่าผู้หญิงและผู้ชายจะสามารถเข้าถึงตำแหน่ง คณะกรรมการ คณะกรรมการบริหาร และผู้บริหารระดับสูง ได้อย่างเท่าเทียมกัน อย่างน้อย 40% ของตำแหน่งเหล่านี้

15. บริษัทมีโครงการพัฒนาศักยภาพในสายอาชีพสำหรับพนักงาน เพื่อส่งเสริมให้สตรีเข้าถึงตำแหน่งบริหารและกรรมการบริษัทอย่างเท่าเทียม

16. บริษัทบูรณาการหลักเกณฑ์ด้านความเท่าเทียมทางเพศและสิทธิสตรีเข้าไปในนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและนโยบายปฏิบัติการของบริษัท

17. บริษัทใส่หลักเกณฑ์เกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศและสิทธิสตรีเป็นเงื่อนไขในสัญญาที่ลงนามกับผู้รับเหมาช่วงและคู่ค้า

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็น

ส่งข้อความของคุณเรียบร้อย

×